Image Credit: Chanan Greenblatt
นักวิจัยจาก World Health Organization (WHO) หรือ องค์การอนามัยโลก สำรวจการออกกำลังกายของพลเมืองทั่วโลกใน 168 ประเทศ พบว่ามากกว่า 25% ของพลเมืองโลกออกกำลังกายไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศซึ่งมีรายได้สูง เช่น สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี, นิวซีแลนด์ ฯลฯ จำนวนผู้ออกกำลังกายไม่เพียงพอโดยเฉลี่ยเมื่อปี ค.ศ. 2016 อยู่ที่ 37% เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 2001 ซึ่งมีผู้ออกกำลังกายไม่เพียงพอประมาณ 32% ส่วนตัวเลขผู้ออกกำลังกายไม่เพียงพอในประเทศรายได้ต่ำ อยู่ที่ 16% ไม่เปลี่ยนแปลงจากการสำรวจเมื่อ ค.ศ. 2001
ผลสำรวจยังพบว่า เพศหญิงออกกำลังกายน้อยกว่าเพศชาย ยกเว้นใน 2 พื้นที่ คือ เอเซียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) และ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ชาติ ASEAN) ซึ่งเพศหญิงออกกำลังกายมากกว่าเพศชาย
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ลักษณะงาน, เครื่องทุ่นแรง, การคมนาคมที่สะดวก (ไม่ต้องเดิน) มีส่วนสำคัญที่ทำให้การออกกำลังกายน้อยลงในประเทศที่มีรายได้สูง
ประเทศที่มีจำนวนผู้ออกกำลังกายไม่เพียงพอมากที่สุดคือ ประเทศ Kuwait 67% , ประเทศ American Samoa 53%, ประเทศ Saudi Arabia 53%, และประเทศ Iraq 52%
องค์การอนามัยโลกระบุว่า องค์การอาจพลาดเป้าหมายลดจำนวนผู้ออกกำลังกายไม่เพียงพอลง 10% ในปี ค.ศ. 2025
มาตรฐานที่ World Health Organization (WHO) หรือ องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ คือคนทั่วไปต้องออกกำลังกายปานกลางสัปดาห์ละ 150 นาที หรือออกกำลังกายที่ใช้พลังงานมากสัปดาห์ละ 75 นาที จึงจะเพียงพอที่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน และมะเร็งบางชนิด
20 ประเทศที่ออกกำลังกายไม่เพียงพอมากที่สุด
- Kuwait 67%
- American Samoa 53.4%
- Saudi Arabia 53%
- Iraq 52%
- Brazil 47%
- Costa Rica 46.1%
- Cyprus 44.4%
- Suriname 44.4%
- Colombia 44%
- Marshall Islands 43.5%
- Portugal 43.4%
- Bahamas 43.3%
- Barbados 42.9%
- New Zealand 42.4%
- Germany 42.2%
- Nauru 42.1%
- Malta 41.7%
- Argentina 41.6%
- Italy 41.4%
- UAE 41.4%
ที่มา: BBC
0 Comments:
Post a Comment