Image Credit: Wikimedia
อุจจาระคือเศษหรือส่วนเหลือของอาหารที่เราบริโภคและถูกขับออกจากร่างกายผ่านทวารหนัก ลักษณะและรูปร่างอุจจาระบ่งบอกถึงสุขภาพทางเดินอาหารและระบบย่อยสลายของเสียภายในลำไส้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดีหรือมีปัญหา
ลักษณะรูปร่างอุจจาระยังสามารถบอกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับทางเดินอาหาร เช่นการติดเชื้อ, มะเร็ง ฯลฯ
ภาพจำลองด้านล่างคือ ลักษณะรูปร่างอุจจาระ บางแบบซึ่งอาจบอกถึงสุขภาพทางเดินอาหารของเรา
1. Nut Hard Lumps หรืออุจจาระเป็นเม็ดแข็งคล้ายกระสุน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร ทำให้เกิดอาการเจ็บระหว่างการขับถ่าย บางครั้งอาจมีเลือดออก มักบ่งบอกถึงความไม่สมดุลย์ของจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ และการปรับตัวที่ผิดปกติของระบบขับถ่าย อุจจาระลักษณะนี้อาจเกิดจากยาบางชนิด เช่นยาปฏิชีวนะ รวมถึงอาจเกิดจากการควบคุมอาหารด้วยวิธี Low-Carb (คาร์โบไฮเดรตต่ำ) และขาดไฟเบอร์
วิธีแก้ไขเบื้องต้น
- เพิ่มการบริโภคอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
- อาหารทุกมื้อควรมี ผัก, ผลไม้, ถั่ว เป็นส่วนประกอบสำคัญ
- ควบคุมปริมาณประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมให้เหมาะสม รวมถึงควบคุมการบริโภคอาหารปรุงสำเร็จ
- ดื่มน้ำมากๆ
- ถ้าไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
2. Sausage Hard Lumps อุจจาระลักษณะนี้คือการจับตัวเป็นก้อนของอุจจาระประเภท Nut Hard Lumps ที่สะสมอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายสัปดาห์ เป็นอาการของคนเป็นโรคท้องผูก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร อุจจาระลักษณะนี้อาจทำให้เกิดแผลในลำไส้ใหญ่และการฉีกขาดของทวารหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบติดเชื้อ รวมถึงริดสีดวงทวารหนัก สาเหตุที่ทำให้เกิดอุจจาระแบบนี้มักมาจากท้องผูกเฉียบพลัน การกลั้นอุจจาระ และการขับถ่ายไม่เป็นเวลา
วิธีแก้ไขเบื้องต้น
- บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของผักผลไม้ทุกมื้อ
- ห้ามกลั้นอุจจาระ เข้าห้องน้ำทันทีที่รู้สึกปวด
- ดื่มน้ำมากๆ
- รับประทานอาหารให้เป็นเวลาอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ปรึกษาแพทย์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น
3. Surface Cracked, Sausage-shaped อุจจาระลักษณะนี้มีที่มาแบบเดียวกับ Sausage Hard Lumps แต่สะสมอยู่ในลำไส้ใหญ่ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ เป็นอาการของโรคท้องผูกแฝงเร้น (Latent Constipation) เส้นผ่าศูนย์กลางของอุจจาระประมาณ 2 - 3.5 เซนติเมตร ไม่ค่อยทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบขับถ่าย
วิธีแก้ไขเบื้องต้น
- รับประทานอาหารให้เป็นเวลา และครบทุกมื้อ
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
4. Smooth, Soft and Snake-like อุจจาระลักษณะนี้คืออุจจาระปกติของผู้ที่ขับถ่ายเป็นประจำทุกวัน อุจจาระมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร นุ่มและเป็นเส้นยาว เส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้นบ่งบอกถึงระยะเวลาที่อุจจาระอยู่ในลำไส้นานกว่าปกติ รวมถึงการบริโภคไฟเบอร์มากขึ้น
5. Clear-cut Soft Blobs อุจจาระลักษณะนี้ จะเป็นท่อนสั้นๆ ไม่แข็งและขับถ่ายได้ง่าย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร เป็นลักษณะอุจจาระของคนที่ถ่ายบ่อยครั้งต่อวันเป็นกิจวัตร เช่นคนที่ขับถ่ายหลังมื้ออาหารทุกมื้อ
6. Ragged, Fluffy and Mushy อุจจาระลักษณะเหลว มักเกิดจากการทำงานของลำไส้ที่ Hyperactive เกินไป, อาหารรสจัดเกินไป, เครื่องดื่มที่มีแร่ธาตุปริมาณสูงเกินไป, บางครั้งก็เกิดจากความเครียดในระดับสูง, และอาจเกิดจากระดับ Potassium สูงเกินไป
วิธีแก้ไขเบื้องต้น
- หลีกเลี่ยงอาหารสดจัด
- รับประทานอาหารให้ช้าลง
- รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์
- ปรึกษาแพทย์ถ้าไม่ดีขึ้น
7. Watery อุจจาระเหลวไม่มีกากหรือเป็นน้ำ ถ้าไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อุจจาระลักษณะนี้อาจเกิดกับผู้มีอาการท้องผูกเป็นเวลานาน รวมถึงพบได้ในเด็ก, คนสูงอายุ และผู้มีปัญหาในการเคลื่อนไหว
วิธีแก้ไขเบื้องต้น
- รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- พบแพทย์ถ้าไม่ดีขึ้น
การหมั่นสังเกตพฤติกรรมการขับถ่ายเป็นประจำเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่ควรละเลย โดยให้ความใส่ใจในเรื่องต่อไปนี้
- ความถี่ในการขับถ่าย
- ระยะเวลาในการขับถ่าย
- รูปร่างของอุจจาระ
- ลักษณะของอุจจาระ เช่นสี, รูปทรง ฯลฯ
ส่วนใหญ่วิธีป้องกันอาการผิดปกติของระบบขับถ่าย ก็เพียง ดื่มน้ำมากๆ, รับประทานผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง, ออกกำลังกาย และขับถ่ายให้เป็นเวลา แต่ที่สำคัญที่สุดคือถ้าอาการผิดปกติไม่ดีขึ้นต้องปรึกษาแพทย์ครับ
ที่มา: Lifehack
0 Comments:
Post a Comment