Image Credit: Arnaldo Aldana
ล่าสุด คณะนักวิทยาศาสตร์จาก Francis Crick Institute พบว่าสารที่มีฤทธิ์ต่อต้านการเกิดมะเร็งลำไส้ถูกผลิตขึ้นระหว่างการย่อยพืชตระกูลกระหล่ำ
ปกติผิวลำไส้จะมีการสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกับผิวหนังทั่วไป กระบวนการปัดเปลี่ยนผิวลำไส้ใช้เวลาประมาณ 4 - 5 วัน โดยระบบในร่างกายจะควบคุมการผลัดเปลี่ยนเซลล์อย่างเข้มงวด ในกรณีที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นจะทำให้เกิดอาการลำไส้อักเสบ หรืออาจรุนแรงถึงระดับเกิดมะเร็งลำไส้
จากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์คณะนี้กับหนูทดลองและชิ้นส่วนลำไส้ของหนู พบว่าสารชื่อ indole-3-carbinol ในพืชตระกูลกระหล่ำมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้การผลัดเปลี่ยน Cell ผิวลำไส้มีประสิทธิภาพมากขึ้น indole-3-carbinol จะเกิดขึ้นระหว่างการเคี้ยวพืชตระกูลกระหล่ำ จากนั้นทำปฏิกิริยากับน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและไหลผ่านลำไส้ตามกระบวการย่อยอาหาร เมื่ออยู่ในลำไส้สารชนิดนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันและการผัดเปลี่ยนเซลล์ผิวลำไส้
Dr Gitta Stockinger หนึ่งในคณะนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า indole-3-carbinol ช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ในหนูทดลอง รวมถึงหนูทดลองที่มียีนส์ซึ่งเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้
อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาและวิจัยว่า สารในพืชตระกูลกระหล่ำมีผลดีต่อมนุษย์เช่นเดียวกับที่ทดลองในหนูหรือไม่ แต่ที่แน่นอนอยู่แล้วก็คือไฟเบอร์ในพืชตระกูลกระหล่ำมีประโยชน์อย่างมากต่อระบบย่อยอาหาร
งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร journal Immunity
ที่มา: BBC
0 Comments:
Post a Comment