Thursday, October 6, 2016

นักวิทยาศาสตร์พบ ความชอบอาหารมันๆ อยู่ในยีนส์





ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Cambridge ประเทศอังกฤษ พบว่ารสนิยมชอบอาหารที่มีปริมาณไขมันสูงอยู่ในยีนส์ที่ทำงานผิดปกติของบางคน ทำให้คนกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน


Prof Sadaf Farooqi หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Wellcome Trust Medical Research Council Institute of Metabolic Science at the University of Cambridge ประเทศอังกฤษ ทำการวิจัยโดยให้อาสาสมัครเลือกรับประทานแกงไก่และของหวานประเภทพุดดิ้งอย่างไม่จำกัดปริมาณ  แกงไก่มีให้เลือกทั้งประเภทที่มีความมันเป็นพิเศษและที่มีความมันไม่มาก ในขณะที่พุดดิ้งก็มีให้เลือกทั้งที่หวานมากและหวานน้อย  และพบว่าคนกลุ่มที่มียีนส์ชื่อว่า MC4R ที่ทำงานบกพร่องจะเลือกรับประทานแกงไก่ที่มีความมันเป็นพิเศษและในปริมาณมากกว่าคนทั่วไป

ขั้นตอนการวิจัยเริ่มโดยการปรุงแกงไก่ 3 แบบคือมันมาก, มันปานกลาง และมันน้อย  ส่วนพุดดิ้งก็มีให้เลือก 3 แบบเช่นกันคือหวานมาก, หวานปานกลาง และหวานน้อย จากนั้นให้อาสาสมัครชิมแกงไก่และพุดดิ้งทุกรส จากนั้นให้อิสระในการเลือกรับประทานทั้งแกงไก่และพุดดิ้งตามชอบโดยไม่จำกัดปริมาณ  และพบว่าคนที่เลือกกินแกงที่มันเป็นพิเศษส่วนใหญ่มียีนส์ MC4R ที่บกพร่องและเลือกกินพุดดิ้งที่หวานน้อย

ศาสตราจารย์ Sadaf Farooqi  อธิบายว่าสาเหตุที่คนมียีนส์ MC4R ที่บกพร่องเลือกพุดดิ้งหวานน้อย เนื่องจากยีนส์ MC4R ที่บกพร่องต้องการสะสมไขมันในร่างกาย และไขมันจากแกงไก่ให้พลังงานมากกว่าน้ำตาลในพุดดิ้ง การทดสอบครั้งนี้ยังทำให้ทราบว่าสมองของเราไม่เพียงสามารถแยกแยะรสชาดเท่านั้นแต่ยังสามารถแยกแยะสารอาหารอีกด้วย

ศาสตราจารย์ Sadaf Farooqi เปิดเผยว่าในหนึ่งพันคนคาดว่าจะมีหนึ่งคนที่ยีนส์ MC4R ทำงานบกพร่อง  ในคนปกติยีนส์ตัวนี้จะควบคุมความอยากอาหารและกระหายน้ำรวมถึงการเผาผลาญ Calories โดยสามารถปรับระบบให้เรารับประทานมากขึ้นและปรับให้ร่างกายสะสมไขมันเมื่อเจอกับสภาวะอดอยากหรือขาดแคลนอาหาร    ศาสตราจารย์ Sadaf Farooqi  ให้กำลังใจผู้ที่มียีนส์ MC4R ผิดปกติว่าไม่จำเป็นต้องกลายเป็นคนอ้วนเสมอไปเพราะการควบคุมอาหารและออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและห่างไกลจากโรคอ้วน

ที่มา: BBC


0 Comments:

Post a Comment