Image Credit: Moziru
คณะนักวิทยาศาสตร์จาก MRC Laboratory of Molecular Biology, สหราชอาณาจักร พบว่า บาดแผลที่เกิดในเวลากลางวันหายเร็วกว่าบาดแผลเกิดในเวลากลางคืน เชื่อว่าเกิดจาก circadian rhythms หรือระบบนาฬิกาในร่างกายมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์จาก MRC Laboratory of Molecular Biology ทำการศึกษาคนไข้ที่ได้รับบาดเจ็บจากบาดแผลไฟไหม้ 118 ราย ซึ่งสุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคแอบแฝงในร่างกาย ทีมนักวิจัยพบว่าบาดแผลที่เกิดในเวลากลางคืนใช้เวลารักษาโดยเฉลี่ย 28 วัน ในขณะที่บาดแผลที่เกิดตอนกลางวันใช้เวลารักษาโดยเฉลี่ย 17 วัน หรือต่างกันประมาณ 11 วัน
จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่าเซลล์ผิวหนังชื่อ Fibroblasts ซึ่งทำหน้าที่ในการสมานแผลที่เกิดขึ้นบนผิวหนังทันที่ที่เกิดแผล ทำงานไม่ดีเท่ากันในช่วงกลางวันและกลางคืน โดยมีประสิทธิภาพมากกว่าในเวลากลางวัน
Dr John O'Neill เปิดเผยว่าจากการทดลองพบว่ายาบางชนิดสามารถปรับให้ Fibroblasts ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลากลางคืน และพบว่า circadian rhythms ของแต่ละคนมีความแตกต่างกันเล็กน้อย
ทีมนักวิจัยเชื่อว่าการค้นพบนี้จะสามารถนำไปปรับใช้เพื่อกำหนดเวลาผ่าตัดให้มีผลต่อการรักษามากที่สุด และจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาบาดแผลให้หายเร็วขึ้น
ผลการศึกษาได้รับการตีพิพม์ใน Science Translational Medicine
ที่มา: BBC
0 Comments:
Post a Comment