Image Credits: dierk schaefer
เผย 9 วิธี สามารถป้องกันอาการสมองเสื่อม (Dementia) ได้ถึง 35 เปอร์เซ็นต์ จากรายงานซึ่งนำเสนอในงานประชุม Alzheimer's Association International Conference ที่กรุงลอนดอน, สหราชอาณาจักร
ศาสตราจารย์ Gill Livingston จาก University College London ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยอาการสมองเสื่อมหรือ Dementia ฉบับนี้ เปิดเผยว่า อาการสมองเสื่อมซึ่งมักแสดงอาการเมื่ออยู่ในวัยสูงอายุ มีพัฒนาการก่อนหน้านั้นหลายปี
รายงานซึ่งนำเสนอต่อ Alzheimer's Association International Conference รวบรวมผลการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสมองจาก 24 ประเทศทั่วโลก ระบุว่า Lifestyle หรือ วิธีการใช้ชีวิตมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม และสามารถสรุปเป็น 9 สาเหตุสำคัญซึ่งมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการสมองเสื่อมดังนี้
- ความเสื่อมในการได้ยินในวัยกลางคน เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 9%
- การศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษา เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 8%
- การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 5%
- โรคซึมเศร้าที่ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 4%
- ขาดการออกกำลังกาย เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 3%
- อยู่โดดเดี่ยวจากสังคม ขาดเพื่อน, ครอบครัวและญาติ เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 2%
- โรคความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 2%
- โรคอ้วน เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 1%
- โรคเบาหวาน ชนิด Type 2 diabetes เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 1%
9 สาเหตุคิดเป็น 35% ที่เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการโรคสมองเสื่อมเมื่อเข้าวัยสูงอายุ ซึ่งถ้ามีการปรับปรุง Lifestyle ทั้ง 9 วิธีป้องกันอาการสมองเสื่อม (Dementia) ได้ถึง 35 เปอร์เซ็นต์
ศาสตราจารย์ Gill Livingston อธิบายว่าความเสี่ยงต่ออาการสมองเสื่อมสามารถป้องกันด้วยตนเองได้ถึง 35 % โดยป้องกันความเสี่ยงข้างต้น คือ พบแพทย์ทันทีถ้ามีพบว่ามีปัญหาในการได้ยินเสียง, หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเป็นประจำ, งดสูบบุหรี่, พบแพทย์เมื่อมีปัญหาความเครียดต่อเนื่องเป็นเวลานาน, ออกกำลังกายเป็นประจำ, พบปะครอบครัวญาติมิตรเพื่อนฝูงเป็นประจำ, ดูแลสุขภาพให้ปลอดจากโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ทั้งหมดดูเหมือนการลงทุนระยะยาวเห็นผลเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ แต่ความจริงแล้วการปฏิบัติส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตทันที ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง
นักวิจัยเชื่อว่าอาหารและแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยสำคัญต่ออาการสมองเสื่อมเช่นกัน แต่ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ
ที่มา: BBC
0 Comments:
Post a Comment