Friday, December 9, 2016

การโกนขนลับบริเวณอวัยวะเพศเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือ STIs (sexually transmitted infections)


การโกนขนลับบริเวณอวัยวะเพศเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือ STIs (sexually transmitted infections)


ผลสำรวจโดย University of California, San Francisco, สหรัฐอเมริกา พบว่าการโกนขนลับบริเวณอวัยวะเพศเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted infections)


ผลการศึกษาซึ่งจัดทำโดยทีมแพทย์จาก  University of California, San Francisco, สหรัฐอเมริกา โดยสำรวจจากผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 7,500 คน พบว่าการโกนขนลับบริเวณอวัยวะเพศเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STIs (sexually transmitted infections)

ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเกิดจาก 2 สาเหตุสำคัญคือ การโกนขนทำให้เกิดแผลขนาดเล็กๆ ที่ผิวหนัง ซึ่งเพิ่มโอกาสให้เชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์เข้าสู่ร่างกายง่ายขึ้น และพบว่าผู้โกนขนลับแบบ 'Extreme' มีแนวโน้มการมีคู่นอนหลายคน

ผลสำรวจครั้งนี้ปรากฎว่าเพศชายที่โกนขนลับส่วนใหญ่ใช้เครื่องโกนหนวดไฟฟ้าในขณะที่เพศหญิงใช้มีดโกนธรรมดา และมีประมาณ 20% ของทั้งเพศชายและหญิงที่ใช้กรรไกร

ผลสำรวจยังพบว่าชายอเมริกันประมาณ 84% เคยโกน, Wax หรือเล็มขนลับ ในขณะที่เพศหญิงมีอัตราส่วนน้อยกว่าคือประมาณ 66%

ในกลุ่มคนที่โกนขนลับที่อวัยวะเพศเป็นประจำพบว่า ประมาณ 17% เป็นประเภท 'Extreme' คือโกนหรือ Wax จนเกลี้ยงอย่างน้อยเดือนละครั้ง และอีก 22% เป็นประเภท 'High Frequency' คือเล็มทุกวันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

กลุ่ม 'Extreme' คือกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อทางเพศสูงกว่าคนทั่วไป 3 ถึง 4 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อที่ติดต่อจากการสัมผัสเช่น เริม ( Herpes) และ HPV (human papillomavirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

อย่างไรก็ตาม การโกนขนลับที่อวัยวะเพศช่วยป้องกันการติดตัวโลนจากการมีเพศสัมพันธ์

ทีมแพทย์จาก จาก  University of California, San Francisco แนะนำผู้ต้องการโกนขนลับที่อวัยยะเพศให้ลดความถึ่ในการโกนลง และรอให้แผลและอาการระคายเคืองที่เกิดจากการโกนหายสนิทก่อนมีเพศสัมพันธ์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STIs (sexually transmitted infections) 
  • โรค STIs  มีหลายชนิดเช่น หนองใน, หนองในเทียม, ซิฟิลิส, เริม, หูดที่อวัยวะเพศ ฯลฯ
  • โรค STI ที่พบมากที่สุดคือหนองในเทียม
  • หนุ่มสาววัยต่ำกว่า 25 ปี คือกลุ่มที่ติดเชื้อ STIs มากที่สุด
  • ผู้มีพฤติกรรมชายรักชาย เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ติดเชื้อ STIs มากที่สุด
  • โรค STIs ส่วนใหญ่รักษาได้ ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ

ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ STIs (sexually transmitted infections) 
  • ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีและเป็นประจำ
  • ปรึกษาแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ
  • บอกให้คู่รักหรือคู่นอนรู้ว่าติดเชื้อ STI เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค
ผลการศึกษาครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ใน Sexually Transmitted Infections Journal


ที่มา: BBC

 


0 Comments:

Post a Comment