Thursday, November 17, 2016

9 วิธีปฎิบัติตัวให้ห่างไกล โรคหัวใจ - Prevent Heart Disease


 Image Credit: Wikimedia


ข้อมูลที่เปิดเผยโดย American Heart Association พบว่า โรคหัวใจ เป็นโรคที่คร่าชีวิตประชากรโลกมากเป็นอันดับต้นๆ มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจทั่วโลกประมาณ 17.3 ล้านคนต่อปี และด้วยสภาพสิ่งแวดล้อม, อาหาร, และการใช้ชีวิต ทำให้ โรคหัวใจ ไม่ได้จำกัด เพศ, วัย, และเชื้อชาติอีกต่อไป


อย่างไรก็ตามเราอาจลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ ด้วย 9 วิธีปฎิบัติตัวให้ห่างไกล โรคหัวใจ ดังนี้

  1. งดสูบบุหรี่และอยู่ให้ไกลจากควันบุหรี่ บุหรี่และควันจากบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคร้ายหลายชนิด รวมถึงโรคหัวใจ ผลการวิจัยพบว่าบุหรึ่เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง การศึกษาพบว่าเมื่อเลิกบุหรี่และอยู่ไกลจากควันบุหรี่จะลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองภายในไม่กี่ปี
  2. ควบคุมความดันโลหิต   ภาวะความดันโลหิตสูงเปรียบเหมือนมฤตยูเงียบ ที่ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกประมาณ 1 พันล้านคน และมักถูกละเลยจากคนทั่วไปเนื่องจากในเบื้องต้นมักไม่มีอาการ  ความดันโลหิตสูงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการวัดความดันโลหิตตามกำหนดเวลา และถ้ามีอาการต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
  3.  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาหารที่มีประโยชน์ช่วยรักษาระดับ Cholesterol และระดับความดันโลหิตให้อยู่ในสภาวะปกติ  อาหารที่ควรรับประทานเป็นประจำได้แก่ ผ้ก, ผลไม้, ข้าวกล้อง, ข้าวซ้อมมือ, ถั่ว, เนื้อปลา, เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไม่ติดมัน  อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่อาหารที่มีไขมันประเภท Saturated fats, Trans fats, หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณ Sodium สูง เช่น เกลือ
  4. ออกกำลังกายเป็นประจำ  การใช้ชีวิตในปัจจุบันซึ่งคนเราอยู่กับที่มากขึ้น เป็นหนึ่งในความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ  ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าผู้ใหญ่ทั่วไปควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง 30 นาที  หรือออกกำลังกายเบาๆ รวมถึงการยืดขยายกล้ามเนื้อทุกวันประมาณวันละ 30 นาที
  5. ควบคุมระดับ Cholesterol   ปกติระดับ Cholesterol จะอยู่ในภาวะปกติถ้ารับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างเพียงพอ แต่เราควรได้รับการตรวจวัดระดับ Cholesterol ทั้ง HDL (Cholesterol ชนิดดี)  และ LDL (Cholesterol ชนิดเลว) เป็นประจำ แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าควรรับประทานยาเพื่อควบคุมหรือไม่
  6. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป  น้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคอ้วน และมีผลต่อสุขภาพหลายๆ ด้านเช่น โรคเบาหวาน, โรคทางเดินหายใจ, ภาวะการนอนหลับผิดปกติ, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ   วิธีควบคุมน้ำหนักตัวอย่างง่ายๆ คือการสังเกตุจากค่า Body Mass Index ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 18.5 และไม่ควรสูงกว่า  25
  7. ควบคุมการบริโภคน้ำตาล  การบริโภคน้ำตาลในปริมาณสูงเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคเบาหวาน และจากสถิติพบว่าผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ 2 ถึง 4 เท่า ผู้ใหญ่ควรได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อหาค่าน้ำตาลเป็นประจำเพื่อป้องกันและควบคุมให้อยู่ในภาวะปกติ
  8. ควบคุมความเครียด สภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันทำให้ความเครียดเกิดขึ้นได้กับทุกคน ความเครียดเป็นสาเหตุของโรคนอนไม่หลับ, ความดันโลหิตสูง, การเต้นของหัวใจผิดปกติ ซึ่งล้วนส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ  วิธีควบคุมความเครียดทำได้ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ, การทำสมาธิ, การกำหนดลมหายใจ ฯลฯ และปรึกษาแพทย์ถ้าไม่ดีขึ้นหรือเกิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  9. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ การพักผ่อนที่เพียงพอทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีและมีปัญหาการนอนกรนเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจว่าการนอนกรนมีความสัมพันธ์กับภาวะหยุดหายใจบางขณะระหว่างการนอนหรือไม่ โรคนี้มีผลร้ายต่อสุขภาพและเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง, และโรคหัวใจ
ที่มา:  Dumb Little Man

    0 Comments:

    Post a Comment