Wednesday, April 29, 2009

การนอนกรนแบบมีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย

ผู้ชายอายุระหว่าง 30-60 ปี กว่า 24% นอนกรนและมีอาการหยุดหายใจ

นาย แพทย์พิชัย นำศิริกุล หัวหน้าทีมแพทย์ ศูนย์รักษาการนอนกรนและโรคหยุดหายใจด้วยเครื่องมือในช่องปาก กล่าวว่า การนอนกรนมี 2 รูปแบบด้วยกัน แบ่งเป็นผู้ที่มีปัญหานอนกรนอย่างเดียว และผู้มีปัญหานอนกรนแบบมีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย ซึ่งจากการสำรวจพบว่า คนไทยจำนวนมากมีอาการนอนกรนจากสาเหตุละเลยดูแลสุขภาพ รับประทานอาหารรสหวานเกินปริมาณจนอ้วน




จากสถิติพบว่า กลุ่มนอนกรนอย่างเดียวจะไม่มีปัญหาสุขภาพมากนัก การรักษาจะทำเพื่อลดเสียงกรนที่สร้างความรำคาญกับคนรอบข้าง แต่ก็ควรติดตามอาการของตนเอง เพราะสามารถพัฒนาสู่การกรนแบบหยุดหายใจร่วมด้วยได้ ซึ่งกลุ่มนี้หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจมีอันตรายต่อชีวิต

วิธีหนึ่ง คือการใช้เครื่องมือผ่านช่องปาก MAS (mandibular advancement splint) ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือรักษาเฉพาะบุคคล เครื่องมือนี้จะช่วยเพิ่มทางเดินหายใจ ช่วงบน ด้วยการเลื่อนขากรรไกรและโคนลิ้นออกมาเล็กน้อย ทำให้มีพื้นที่สำหรับทางเดินอากาศมากขึ้น ขณะเวลานอนและลดเสียงกรน

ข้อมูลจาก DLife หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

0 Comments:

Post a Comment