Tweet
เชื่อว่าพวกเราทุกคนเคยปวดศีรษะ และทุกครั้งที่เกิดอาการปวดศีรษะก็ต้องนึกถึงยาแก้ปวด แต่จากการศึกษาโดยแพทย์เกียวกับระบบประสาทกลับพบว่า การได้รับยาแก้ปวดมากเกิดไปกลับ จะทำให้อาการปวดศีรษะเลวร้ายขี้นกว่าเดิม
Dr Giles Elrington ที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทจาก Barts and The London NHS Trust ในกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ บอกว่าประชาชนส่วนน้อย ที่ตระหนักถึงอันตรายจากการได้รับยาแก้ปวดมากเกินไป
ยาแก้ปวดจะระงับอาการปวดในขณะนั้น แต่บ่อยครั้งกลับเป็นสาเหตุของการกลับมาของการปวดอีก ที่เรียกกันว่า " Rebount Headaches" Dr. Giles Elrington บอกว่ากว่า 40% ของผู้ป่วย ที่เข้ามารับการรักษาอาการปวดศีรษะเป็นประจำในสถานพยาบาลของเขา เกิดจากการได้รับยาแก้ปวดมากเกินไป และอาการปวดศีรษะหายไปภายหลังการหยุดใช้ยาแก้ปวด ซึ่งรวมถึงยาแก้ปวดที่รู้จักกันเป็นอย่างดีเช่น Aspirin และ Paracetamol
Dr. Giles Elrington แนะนำว่าคนปกติทั่วไป ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดศีรษะมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
ในประเทศอังกฤษมีคนประมาณ 1 ล้านคนที่ปวดศีรษะเป็นประจำ (รวมถึงคนที่เป็นไมเกรนด้วย)
ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาทหลายๆ คน เริ่มเชื่อว่าอาการปวดศีรษะบ่อยครั้งเกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดในสมองในชั่วขณะหนึ่ง ทำให้เรารู้สึกถึงอาการปวดศีรษะ ทั้งๆที่ไม่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นแต่อย่างใด และยาแก้ปวดศีรษะทุกๆ ชนิด สามารถทำให้เกิดการปวดศีรษะแบบเรื้อรังได้
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ได้รับยาแก้ปวดเป็นประจำ เกิดอาการปวดศีรษะแบบเรื้อรัง แต่คาดว่าฤทธิ์ของยาแก้ปวดมีผลกระทบกับความสามารถของระบบการจัดการกับความเจ็บปวดของร่างกายที่มีอยู่เดิม
ในแต่ละปีคนอังกฤษบริโภคยาแก้ปวดคิดเป็นมูลค่าถึง 30,000 ล้านบาท และภายในปีเดียว 8 ใน 10 คนในอังกฤษเคยซื้อยาแก้ปวดมาบริโภค
บทความจาก Daily Telegraph ช่วยเตือนให้พวกเราระมัดระวังการใช้ยาแก้ปวดมากขึ้น เพราะแทนที่จะหายปวดหัวจะกลายเป็นปวดหัวเรื้อรังแทน
0 Comments:
Post a Comment