การวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์จาก University of Toronto พบว่า พฤติกรรมการขับรถที่เปลี่ยนไปในผู้สูงอายุ อาจบอกถึงระยะเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์
โดยทั่วไปพฤติกรรมการขับรถจะเปลี่ยนไปตามอายุ แต่ในบางคนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจมีความสัมพันธ์กับระยะเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์
Sayeh Bayat และนักวิทยาศาสตร์จาก University of Toronto ทำการวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมการขับรถที่เปลี่ยนไปสามารถบอกถึงการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์หรือไม่
การวิจัยครั้งนี้ใช้อาสาสมัครอายุมากกว่า 65 ปี จำนวน 139 คน ซึ่งประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์มีอาการระยะเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ โดยติดตั้งอุปกรณ์ Global Positioning System-based (GPS) เพื่อติดตามพฤติกรรมการขับรถทั้งกลางวันกลางคืน ต่อเนื่องกัน 365 วัน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบพฤติกรรมการขับรถที่แตกต่างกันระหว่างอาสาสมัครมีอาการระยะเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ กับ อาสาสมัครซึ่งไม่มีโรค โดยอาสาสมัครมีอาการระยะเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ จะขับรถช้ากว่า, ตัดสินใจอย่างกระทันหันบ่อยกว่า, ไม่ค่อยขับรถเวลากลางคืน, ขับในระยะทางที่สั้นกว่า, มักเลือกเส้นทางเดิมๆ, จุดหมายปลายทางค่อนข้างซ้ำไม่หลากหลาย
Sayeh Bayat ระบุว่า การวิเคราะห์พฤติกรรมการขับรถที่เปลี่ยนไปในผู้สูงอายุ อย่างละเอียด สามารถบอกถึงระยะเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ ได้แม่นยำประมาณ 86 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ถ้าใช้ร่วมกับการทดสอบทางพันธุกรรมสำหรับโรคอัลไซเมอร์ที่เรียกว่า Apolipoprotein E (APOE)
อย่างไรก็ตาม Sayeh Bayat เปิดเผยว่า การเก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับรถอย่างละเอียดต่อเนื่องกันระยะยาวยังเป็นเรื่องยากซึ่งถ้าข้อมูลไม่เพียงพออาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการวิเคราะห์
ที่มา: BBC
0 Comments:
Post a Comment