ความสามารถในการจดจำของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนสามารถจดจำรายละเอียดได้อย่างแม่นยำ ขณะที่หลายคนขี้ลืมจนตัวเองรู้สึกรำคาญใจ แต่จิตแพทย์บอกว่าการหลงลืมเล็กๆ น้อยๆ เช่นลืมว่าวางกุญแจไว้ที่ไหน ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่อาการลืมบางลักษณะก็บอกถึงความผิดปกติบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้นกับสมอง
Dr. Gary W. Small ศาสตราจารย์ด้านจิตเวชของ David Geffen School of Medicine มหาวิทยาลัย UCLA อธิบายเรื่องของอาการลืมว่าเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่อายุเข้าวัยกลางคนคือ 45 ปีจะเริ่มรู้สึกถึงอาการขึ้ลืมที่เพิ่มขึ้น นอกจากอายุแล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดการลืมยังประกอบด้วย ความเครียด, อดนอน, ผลข้างเคียงของการใช้ยาบางประเภท, การทำงานผิดปกติของต่อม Thyroid,อาการป่วยจากโรคติดเชื้อ, โรคซึมเศร้า, ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน
Kirk R. Daffner, M.D. บอกว่าปัญหาความจำซึ่งพบได้ในคนทั่วไป สามารถแบ่งได้ 6 ลักษณะคือ
- Transience หรือการลืมเรื่องราวและเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านไปเป็นเวลานาน
- Absent-mindedness หรือการลืมเรื่องที่ไม่ได้ใส่ใจ เนื่องจากกำลังคิดถึงเรื่องอื่นอยู่ เช่นลืมว่าวางแว่นตา, กุญแจไว้ที่ใด
- Blocking หรือการลืมเนื่องจากสมองไม่สามารถดึงความจำที่ถูกเก็บอยู่ส่วนนั้นออกมา ในบางครั้งอาจเป็นเพราะมีข้อมูลที่ใกล้เคียงกันหลายเรื่องอยู่ในสมอง เช่นอาจเรียกชื่อลูกสองคนสลับกันในเวลากระทันหัน
- Misattribution หรือการจำเหตุการณ์โดยรวมได้แต่จำรายละเอียดเช่นเกิดขึ้นเมื่อไร, ใครอยู่ในเหตุการณ์, เกิดขึ้นที่ใด ฯลฯ ไม่ได้ Misattribution มักเกิดกับคนที่เริ่มมีอายุมากขึ้น เนื่องจากเวลาที่ผ่านมานานและได้รับข้อมูลไม่มากพอเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้น
- Suggestibility หรือความจำที่เลือนไปเนื่องจากถูกหันเห เช่นข้อมูลที่เป็นความจริงที่พบทำให้ความจำในอดีตซึ่งเป็นเรื่องผิดพลาดเลือนไป
- Bias ประสพการณ์, ความเชื่อ, อารมณ์ มีผลกระทบต่อการจัดเก็บความจำและการเรียกความจำออกมา เช่นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าจะจำข้อมูลด้านลบได้ดีกว่าข้อมูลด้านบวก
ลืมอย่างไรคล้าย อาการโรคสมองเสื่อม
Dr. Thomas M. Wisniewski จาก Center for Cognitive Neurology at NYU Langone Medical Center บอกวิธีสังเกตอาการลืมอย่างง่ายๆ ว่า การลืมว่าวางกุญแจ หรือแว่นตาไว้ที่ไหนไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่ถ้าลืมว่ากุญแจหรือแว่นตามีไว้ทำไม เป็นเรื่องผิดปกติ
วิธีสังเกตุความผิดปกติของอาการลืมว่าเกี่ยวข้องกับโรคสมองเสื่อมยังมีอีกหลายวิธี เช่น เรียกชื่อของวัตถุผิดเช่น กุญแจวางอยู่บนโต๊ะ แต่กลับชี้ไปที่โต๊ะแล้วบอกว่ากุญแจอยู่ในเตาอบ, ผู้มีอาการโรคสมองเสื่อมอาจสับสนในการจดจำสถานที่แม้แต่ที่อยู่ของตนเอง, ผู้มีอาการโรคสมองเสื่อมมักรู้สึกหงุดหงิดเมื่อมีการซักถามถึงเรื่องความจำในอดีต, ผู้มีอาการโรคสมองเสื่อมอาจมีอาการหวาดระแวง ไม่ไว้ใจคนรอบข้าง และไม่ติดต่อกับเพื่อน, คนในครอบครัวและญาติสนิท ฯลฯ
คนในครอบครัว, ญาติ และเพื่อนสนิทมักจะเป็นผู้รับรู้ถึงความผิดปกตินี้มากกว่าที่ผู้มีอาการโรคสมองเสื่อมจะรู้สึกถึงความผิดปกติของตนเอง ในขณะที่ผู้มีอาการลืมแบบปกติทั่วไปหรือเป็นไปตามวัยจะรู้สึกถึงอาการลืมของตนเอง
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ The New York Times 1 และ Next Avenue
0 Comments:
Post a Comment