Tweet
วิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ลุกลามไปทั่วโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ในปี 2552 มีการคาดการณ์ว่าอัตราของคนว่างงานจะสูงกว่า 1 ล้านคนและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มถึง 2 ล้านคน ทั้งจากผู้ที่ถูกปลดออกจากงานและบัณฑิตจบใหม่ที่ไม่มีตำแหน่งงานรองรับ เมื่องานดีๆ มีจำนวนจำกัด การสมัครงานอย่างไรให้ได้งานจึงเป็นเรื่องที่หลายคนคิดหนักว่าจะเตรียม ตัวอย่างไรให้เป็นที่ต้องการของนายจ้างโดยเฉพาะกับบัณฑิตจบใหม่ที่ต้องเจอ ศึกหนักในปีนี้
"คนส่วนใหญ่ที่สมัครงานแล้วไม่ได้งานก็เพราะไม่ รู้จักการเตรียมความพร้อม หรือคนรอบข้างที่เป็นที่ปรึกษาไม่ได้มีความรู้จริง เราพยายามเป็นเหมือนโค้ชให้เด็กว่าทำอย่างไรให้เขาโดนใจนายจ้าง สื่อให้ผู้จบการศึกษาใหม่เข้าใจ ที่ผ่านมาไม่ได้นำเสนอความรู้ความสามารถที่จะทำให้บริษัทมั่นใจที่จะรับเข้า ทำงาน เพราะบริษัทย่อมแสวงหาคนที่จะไปช่วยสร้างความเจริญเติบโตมากกว่าจะรับคนที่ มีแนวโน้มจะไม่สร้าง ผลงานเข้าทำงาน ผู้สมัครงานที่อยากจะได้งานก็ต้องมองว่าตนเองสามารถให้อะไรกับองค์กรได้บ้าง และเตรียมพร้อมให้ดี" ปิยะมิทน์ รังษีเทียนไชย กรรมการบริหารบริษัท ควอลิตี้โปรไฟล์ จำกัด กล่าว
นอกเหนือจากการมีโปรแกรมเป็นตัวช่วย แล้ว สิ่งที่บัณฑิตควรรู้เพื่อเตรียมพร้อมเบื้องต้นก็ไม่ควรละเลย จากประสบการณ์กว่า 15 ปีของ "ปิยะมิทน์" ที่ทำงานด้านการแนะแนวให้คำปรึกษาและสรรหาบุคลากรให้กับบริษัทชั้นนำ และมองเห็นปัญหาของผู้สมัครงานมามากมายเขาได้แนะแนวทางก่อนเข้าการสมัครงาน โดยสรุปได้ 7 ข้อต่อไปนี้
1.รู้จักตนเอง ว่ามีศักยภาพด้านไหน รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก การรู้จักตนเองก็ต้องเริ่มจากการที่เราลองไล่ดูว่าเราต้องการอะไร อยากเป็นอะไร คนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้จักตนเองเพราะใกล้ตัวเกินไปจึงไม่ใส่ใจ ลองคิดดูว่าในระหว่างที่เรียนอยู่ในระดับอุดมศึกษาเราเรียนรู้อะไรมากขึ้น จากตอนมัธยมบ้าง นั่นคือการมองย้อนไปดูประสบการณ์ที่เรามี และต้องย้อนกลับมาถามตนเองว่า ถ้านายจ้างจะจ้างเรา ทุกวันนี้ก็มีโปรแกรมมากมายที่จะช่วยทดสอบ วิเคราะห์ความถนัดในแต่ละด้านหรือบุคลิกภาพของคน
2.รู้ความต้องการตลาด ว่าต้องการคนแบบไหน มีอะไรที่เราสามารถไปสร้าง ประโยชน์ให้กับบริษัทเหล่านั้นได้บ้าง จากนั้นค่อยกลับมาดูว่าเราสนใจงานด้านไหน เมื่อหางานที่เราชอบได้ความกระตือรือร้นที่จะทำความรู้จักและพิชิตงานนั้น ให้ได้ก็จะตามมา เหมือนเวลาเราไปชอบใครสักคนหนึ่ง ก็ต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับคนคนนั้นให้มากที่สุดเพื่อที่จะชนะใจเขาให้ได้
3. หาองค์กรที่เหมาะกับเรา เป็นใครก็คงต้องการทำงานอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่และมั่นคง จึงมีแห่คนไปสมัครจำนวนมากทั้งๆ ที่อาจไม่เหมาะกับตนเอง ในตลาดยังมีองค์กรอีกมากมายที่ไม่ได้ต้องการเติบโตอย่างก้าวกระโดดจึงไม่ได้ ต้องการคนที่เก่งที่สุด เพราะการรับคนที่พร้อมจะเติบโตไปกับองค์กรจะสามารถสร้างประโยชน์ได้มากกว่า ทั้งกับตัวองค์กรเองและคนทำงาน ในขณะที่คนที่มีความสามารถมากๆ เข้าไปทำงานในองค์กรแบบนี้จะรู้สึกเบื่อหน่ายและเกิดปัญหากับองค์กร
4. เตรียมตัวให้พร้อม เพื่อก้าวไปสู่ การเป็นมืออาชีพจะต้องเรียนรู้การพัฒนาบุคลิกภาพให้น่าสนใจและฝึกตนเองให้มี คุณสมบัติเหล่านี้ คือ ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักพึ่งพาตนเองและให้ความช่วยเหลือผู้อื่น คุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยทำให้เราก้าวไปสู่การมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้ อื่นได้
5.วิธีการนำเสนอข้อมูลส่วนบุคคล การเขียนประวัติส่วนบุคคลหรือเรซูเม่อาจหาตัวอย่างได้ทั่วไป แต่ทางที่ดีควรเขียนด้วยตนเอง และเรซูเม่ก็ไม่ควรยาวเกินไปควรเขียนให้สั้น และกระชับจบได้ภายใน 1 หน้า อธิบายเฉพาะเนื้อหาสำคัญ อย่างเช่น ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ที่ทำในระหว่างเรียน หรือสิ่งที่เรียนมาเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัครอย่างไร หากพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด การเลือกใช้แบบตัวอักษรก็สามารถบ่งบอกถึงบุคลิกภาพหรือความสามารถของผู้ สมัครได้ จึงควรเลือกแบบตัวอักษรให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่สมัครงาน เมื่อเขียนเสร็จตรวจทานระวังอย่าให้มีข้อมูลที่ผิดพลาดอย่างปี พ.ศ.เกิด เพราะอาจแสดงให้เห็นว่าเราไม่ใส่ใจในรายละเอียดเล็กน้อย สุดท้ายอย่างลืมคัดเลือกรูปถ่ายที่ดูดีที่สุดเพราะบุคลิกภาพก็มีส่วนสำคัญใน การรับคนเข้าทำงาน
6.กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ถ้าไม่กำหนดเป้าหมายในชีวิตของตนเองก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะเดินไปถึงเป้า หมาย นั่นสิ่งที่หลายคนลืมที่จะวางแผนเส้นทางชีวิตของตนเอง พอเราได้รับการบรรจุงานก็จะคิดว่านายจ้างเป็นคนกำหนดการก้าวไปสู่ตำแหน่งที่ ใหญ่โตขึ้น แต่จริงๆ แล้วคือตัวเราเองที่ต้องมองว่างานของเรามีพัฒนาการไปถึงไหน มีประสบการณ์พอแล้วหรือยัง เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนด เราต้องวางแผนว่ากี่ปีเราจะก้าวไปสู่ผู้เชี่ยวชาญ มืออาชีพ และก้าวไปสู่ผู้บริหาร เมื่อรู้ระยะทางก็จะถึงจุดหมายเร็ว หากเดินเป็นเส้นตรงก็จะถึงเร็ว แต่ปัญหาของคนคือจะมี สิ่งเร้าเข้ามาทำให้เดินหลงทางจนต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จใน ชีวิต ถ้าเราวางแผนชีวิตและรู้ศักยภาพตนเอง แม้นายจ้างมองไม่เห็นเราก็สามารถเปลี่ยนไปสมัครงานในตำแหน่งที่สูงกว่าได้
7. พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เมื่อมีการวางเป้าหมายของชีวิต การพัฒนาตนเองจะทำให้เราก้าวไปสู่จุดที่มุ่งหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักการจูงใจผู้อื่น มีความสามารถในการนำเสนอผลงาน จัดการประชุม การเจรจาต่อรอง และมีวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ รู้ว่าจะจัดการองค์กรอย่างไรให้เจริญเติบโตก้าวหน้า เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ทักษะเหล่านี้จะทำให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหารที่ดีในอนาคต
แม้เศรษฐกิจจะตกต่ำ แต่โอกาสยังเปิดรับให้กับคนที่พร้อมเสมอ
ข้อมูลจากประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552
0 Comments:
Post a Comment