Tweet
บทความนี้มาจากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 25 - วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2551 เป็นคำแนะนำวิธีการบริหารงานในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนสามารถนำมา ปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ ขอบคุณหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจเป็นอย่างสูง ณ ที่นี้ด้วยครับ:-
แน่นอนว่า ในปี 2552 ทุกธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ มากมายในทางลบ กระบวนการตั้งรับที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญมากของทุกองค์กร
เมื่อ เร็วๆ นี้ "ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส" (PricewaterhouseCoopers หรือ PwC) บริษัทให้คำปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญจนเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคต่างๆ มีพนักงานกว่า 140,000 คน ใน 149 ประเทศ ได้ประเมินและวิเคราะห์ว่า ในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังมีโอกาสทางธุรกิจอยู่และเชื่อว่าองค์กรที่จะ ผ่านพ้นวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งนี้ไปได้ควรให้ความสำคัญกับ "10 วิธีการบริหารในช่วง เศรษฐกิจขาลง"
1.พิจารณาอย่างถี่ถ้วน
สถานการณ์ ที่เป็นจริง ไม่ใช่สิ่งที่คุณเชื่อ ความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ ผลกระทบทางธุรกิจจากเศรษฐกิจขาลง อะไรที่เป็น และจะเป็นตัวผลักดันที่แท้จริงที่จะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ จะต้องพิจารณาทั้งในแง่ของประเภทธุรกิจ ตัวผลิตภัณฑ์ ลูกค้า สภาพตลาด และสภาวะของการแข่งขัน ปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงสิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญและยินดีที่จะจ่ายเพื่อให้ได้มามากที่ สุด
นอกจากนั้นยังต้องรู้ว่าคู่แข่งขันกำลังทำอะไรอยู่ และวางแผนจะทำอะไรต่อไป
2.ลงมือทำอย่างรอบคอบและมั่นใจ
ท่าม กลางความผันผวนและความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น การตัดสินใจอย่างทัน ท่วงทีเป็นสิ่งที่สำคัญ ผู้บริหารองค์กรควรมุ่งเน้นไปยังสิ่งที่ทำให้เพิ่มคุณค่าและปัจจัยเสี่ยง หลักของธุรกิจ อย่าเพิกเฉยละเลย เพราะผู้ชนะคือผู้ที่สามารถใช้ข้อได้เปรียบในภาวะที่เศรษฐกิจกลับมาดีขึ้น อีกครั้ง
ภาวะความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งต้องมาพร้อมกับทักษะที่จำ เป็นรอบด้าน วันนี้สิ่งที่ ผู้บริหารองค์กรต้องถามตัวเองตลอดเวลา คือ คุณมีบุคลากรเช่นนั้นหรือยัง ?
และจะต้องให้ความสำคัญใน "สิ่งที่ควรจะทำ" มากกว่า "สิ่งที่อยากจะทำ"
มี การพิจารณาไตร่ตรองความเสี่ยงหลักในปัจจุบัน และให้ความสำคัญให้ถูกจุดกับสิ่งที่ได้ประเมินมาแล้ว ที่สำคัญต้องริเริ่มที่จะทำอะไรใหม่ๆ มีความกระตือรือร้น สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และหันกลับมามองทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่เพื่อนำไปขับเคลื่อนธุรกิจ
3.วิธีการบริหารเงิน
จะ ต้องมั่นใจว่าการเงินของคุณนั้นยังคงสามารถรักษาสภาพคล่องได้ โดยที่มีการสำรวจสินทรัพย์ทางการเงิน การได้มาซึ่งเงินทุน การสำรองไว้ซึ่งเงินบำเหน็จบำนาญ ติดตามผลการดำเนินงานในเรื่องภาระผูกพันทั้งทางด้านการเงินและมิใช่การเงิน มีการนำยุทธวิธีความร่วมมือมาใช้ในการจัดการเงินสด
ฉะนั้น วันนี้ผู้บริหารจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า คุณมีความเข้าใจภาระหน้าที่ในการชำระหนี้ของคุณแค่ไหน ? คุณได้ รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทางการเงินบ่อยแค่ไหน และพวกเขาได้รับทราบสถานการณ์ปัจจุบันมาก แค่ไหน ?
4.จัดลำดับความสำคัญ
โดย ประเมินว่าผลิตภัณฑ์อะไร ลูกค้าประเภทไหน และช่องทางการจำหน่ายในการที่จะสร้างหรือทำลายคุณค่าขององค์กรเป็นอย่างไร โดยทบทวนโครงการการลงทุนที่มีอยู่ และโครงการที่กำลังจะเริ่มว่าควรหยุด หรือดำเนินต่อไป
ซึ่งทั้งหมดประเมินได้จากปัจจัยหลายอย่าง อาทิ ลูกค้ารายใดที่ลดปริมาณการ สั่งซื้อลง และคุณจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ? ผลิตภัณฑ์ใด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ใดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างกำไรอย่างแท้จริง หรือคุณจะสามารถเพิ่มปริมาณการสั่งซื้อจากช่องทางการจัด จำหน่ายใหม่ๆ ได้อย่างไร
โครงการการลงทุนใดที่จะช่วยให้คุณฝ่าฟันวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ และโครงการลงทุนใดที่ยังชะลอออกไปได้ก่อน
หากมุ่งความสนใจไปยังธุกริจหลักของคุณ ผลิตภัณฑ์ใด ลูกค้ารายไหน และ ช่องทางการจัดจำหน่ายใด ที่คุณควรจะให้ความสำคัญ
5.การบริหารจัดการกับต้นทุน
จะ ต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นถึงคุณค่าที่ดีขึ้น ลดความซับซ้อนที่ไม่จำเป็น อีกทั้งพิจารณาว่าลักษณะการดำเนินธุรกิจควรที่จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่
โดยพิจารณาจากต้นทุนการดำเนินงานเปรียบเทียบกับการเพิ่มมูลค่า
ใน ส่วนของต้นทุนจะต้องดูว่า ธุรกิจที่ทำอยู่นั้นได้ดำเนิมาถูกทางหรือไม่ แล้วคุณได้ใช้ความสามารถและข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างเต็มที่แล้วหรือ ยัง
บริษัทได้ขจัดความสิ้นเปลืองออกไปแล้วหรือยัง การดำเนินธุรกิจนั้นเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าแล้วหรือไม่ และที่ผ่านมาสามารถใช้วิธีการจัดหาทรัพยากรที่ดีขึ้นได้หรือไม่
สำหรับ การเพิ่มมูลค่า ผู้บริหารจะพิจารณาว่ามีต้นทุนใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโดยตรง แล้วอะไรคือประโยชน์ที่ได้จากสินค้าอย่างแท้จริง กิจกรรมใดที่ก่อให้เกิดกำไรและการดำเนินงานตรงจุดไหนที่ทำให้สูญเสียรายได้
6.บริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
ความถูกต้องของ ข้อมูลที่ใช้ในการบริหารในปีหน้าจะมีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็น เพราะการกำหนด KPI ที่ชัดเจนสามารถวัดความมีประสิทธิผลของการดำเนินงานที่เพิ่มมูลค่าให้แก่ ลูกค้าและกิจการได้ ดังนั้นการตัดสินใจต้องอยู่บน พื้นฐานของข้อเท็จจริงและทันต่อเวลา
ผู้บริหารจะต้องมองย้อนกลับไปในอดีตว่าระบบขององค์กรได้สร้างข้อมูลที่มีประโยชน์ในระดับไหน
7.เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ผันผวน
ผู้ ที่จะได้ชัยชนะจะต้องแสดงให้เห็นถึงความฉับไวและการปรับตัวต่อสถานการณ์ ต่างๆ โดยการจำลองสถานการณ์ที่จะสะท้อนถึงปัจจัยทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไปและวาง แผนสำหรับเหตุการณ์เหล่านั้น
ผู้บริหารจะต้องพิจารณาว่า ธุรกิจของคุณได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจขาลงอย่างไร และที่ผ่านมามีตัวแปรที่ใช้ในการสร้างสถานการณ์จำลองได้คำนึงถึงผลการดำเนิน งานและช่วงระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
อะไรคือจุดบกพร่องของโครงสร้างทางธุรกิจ และโครงสร้างนั้นยืดหยุ่นมากพอที่จะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมใหม่ๆ หรือไม่
นั่นคือผู้บริหารองค์กรจะต้องมีการประเมินสถานการณ์จำลองและวิธีการรับมือต่อปัญหาดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ
8.ช่วงสำคัญในการบริหารทรัพยากรบุคคล
กุญแจ สำคัญคือ การสื่อสารกับ พนักงานอย่างสม่ำเสมอและชัดเจน ระบุความสามารถพิเศษเฉพาะตัวของพนักงานที่จำเป็นต่อองค์กร และมีการพัฒนาแรงจูงใจที่เหมาะสมให้แก่บุคลากร ไม่จำกัดการใช้ทรัพยากรแค่คนในองค์กร โดยอาจ มีการจัดจ้างจากภายนอก (outsourcing) แต่ควรที่จะรักษาคนที่มีความรู้ความสามารถไว้ในองค์กร
สิ่ง ที่ผู้บริหารจะต้องพิจารณามากเป็นพิเศษ คือ ความต้องการของคนในองค์กรจะถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมทาง เศรษฐกิจในปัจจุบันอย่างไร ที่ผ่านมาได้ใช้ทรัพยากรบุคคลอย่างไรเพื่อที่จะสะท้อนกับผลการดำเนินงานที่ เปลี่ยนแปลงไป หรือมีการสร้างแรงจูงใจและให้ผลตอบแทนต่อพนักงานในองค์กรอย่างไร
ที่ มากกว่านั้นพนักงานมีความพอใจต่อกลยุทธ์การให้รางวัลตอบแทนขององค์กรมากน้อย เพียงใด และใช้ระบบการประเมินผลการทำงานอย่างไรที่จะสามารถวัดได้ถึงความร่วมมือที่ พนักงานมอบให้แก่องค์กร
ในส่วนของพนักงานไฟแรงให้ความสำคัญกับพวกเขาขนาดไหน
สุดท้ายผู้บริหารทุกคนจะต้องตอบให้ได้ว่า ได้สื่อสารกับพนักงานของคุณครั้งสุดท้ายเมื่อไร
9.คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอยู่เสมอ
ทุก องค์กรจะต้องประเมินผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจขาลง ทำความเข้าใจภาพรวม เพราะการรับรู้จะเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญ คือ จะต้องมีการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอและทันเวลา
ดัง นั้น ผู้บริหารจะต้องรู้ว่าใครคือผู้มีส่วนได้เสียหลักของธุรกิจ และสังเกตทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงของผู้มีส่วนได้เสียที่อาจจะมีผลกระทบต่อ ธุรกิจแล้วพัฒนาแผนการสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อให้ทั้งบุคคลภายนอกและภายในมั่น ใจว่าองค์กรมีการนำแผนที่มีการประมาณการนั้นมาใช้จริง
นอกจากนั้นแล้วควรให้คนในองค์กรได้มีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์ของธุรกิจและสิ่งที่ต้องการปฏิบัติร่วมกัน
10.น้ำขึ้นให้รีบตัก
ภาวะ วิกฤตหลายองค์กรมักจะตัดงบฯลงทุนต่างๆ มีเพียงซีอีโอไม่กี่องค์กรที่เดินสวนกระแสเลือกที่จะลงทุนในช่วงเศรษฐกิจขา ลง ในส่วนของไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์สก็เห็นว่าทุกองค์กรไม่ควรหยุดสร้างนวัตกรรมหรือการลงทุนในส่วนที่จะ เจริญเติบโตในอนาคต เพราะตรงนี้คือโอกาส
0 Comments:
Post a Comment