Friday, May 12, 2017

ตู้เย็นหลายๆ รูปทรง และข้อดีข้อด้อย




ตู้เย็นคือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นที่สุดอย่างหนึ่งในบ้าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองร้อนที่อาหารทุกชนิดสามารถเน่าเสียเสื่อมสภาพได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบันตู้เย็นได้รับการออกแบบให้มีหลายๆ รูปทรง ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีข้อด้อย ขึ้นอยู่กับวิธีใช้ของแต่ละคน  ติดตาม ข้อดีข้อด้อยของตู้เย็นหลายๆ รูปทรง จาก Lifehacker ครับ




 1. Top Freezer  ตู้เย็นรูปทรงที่นิยมใช้กันทั่วไป ข้อดีคือเป็นรููปทรงมาตรฐาน ต้องการพื้นที่วางตู้เย็นน้อย บาง Brand บานตู้เย็นให้เลือกเปิดทั้งด้านซ้ายและขวา ช่อง Freeze อยู่ด้านบนเหมาะสำหรับผู้เปิดใช้ช่อง Freeze เป็นประจำ เพราะไม่ต้องก้มหยิบของที่แช่ในช่อง Freeze

2.  Bottom Freezer  รูปทรงเหมือน Top Freezer แต่ช่อง Freez อยู่ด้านล่าง ข้อดีไม่ต่างจาก Top Freezer แต่เหมาะสำหรับผู้ใช้ตู้เย็นเพื่อแช่อาหารทั่วไปมากกว่าใช้แช่แข็ง เพราะไม่ต้องก้มหยิบ

3.  French Door  ด้านล่างของตู้เย็นเป็นช่อง Freeze ส่วนช่องแช่เย็นแบ่งเป็น 2 ประตู  ข้อดีคือความเป็นสัดเป็นส่วน เปิดเพียงบานตู้เย็นด้านที่ต้องการเท่านั้นช่วยรักษาอุณหภูมิในตู้เย็น ซึ่งหมายถึงช่วยถนอมอาหารและประหยัดค่าไฟได้บางส่วน  ข้อด้อยก็คือไม่สะดวกในการใช้งานถ้าจำเป็นต้องแช่ของชิ้นใหญ่ๆ และไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้ช่อง Freeze เป็นหลัก

4.  Side by Side  ตู้เย็นแบบ 2 บานประตู  ข้อดีคือช่วยให้การจัดวางของในตู้เย็นเป็นระเบียบ ช่อง Freeze ทรงสูงช่วยให้การหยิบของสะดวกขึ้น ข้อด้อยคือไม่เหมาะสำหรับแช่ของขนาดใหญ่และไม่สะดวกในการหยิบของที่แช่ไว้ที่ Shelf ล่างสุดของตู้เย็น

5. Built In  ข้อดีของตู้เย็นแบบ Built In คือช่วยให้ห้องครัวสวยงามเป็นระเบียบ ข้อด้อยคือมักจะตื้นกว่าตู้เย็นมาตรฐานทั่วไป






ทั้งหมดขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ตู้เย็น, ขนาดห้องครัว และงบประมาณที่มีอยู่  เพราะตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างนานทำให้ต้องพิจารณาให้ละเอียด

วิธีสังเกตว่าได้เวลาต้องเปลี่ยนตู้เย็นอย่างง่ายๆ ก็คือ 
  1. เสียงดังผิดปกติ  มอเตอร์ทำงานบ่อยผิดปกติ
  2. ร้อนผิดปกติ  
  3. ช่อง Freeze ไม่เย็นเหมือนเดิม
  4. อาหารในช่องแช่เย็นเสื่อมสภาพเร็วกว่าเดิม

ปกติตู้เย็นจะมีอายุการใช้งานได้เกิน 10 ปีและอาจถึง 20 ปี  เมื่อใช้มากว่า 10 ปีและมีสิ่งผิดปกติก็คงได้เวลามองหาตู้เย็นเครื่องใหม่แล้วครับ


ที่มา: Lifehacker 1, 2



0 Comments:

Post a Comment