Wednesday, January 7, 2009

Junk Food - อาหารขยะ

เมื่อเอ่ยถึง Junk Food หรืออาหารขยะ แทบทุกคนจะนึกถึงภาพของอาหารจานด่วนขึ้่นมาก่อน โดยเฉพาะอาหารฝรั่งจานด่วนที่เรียกกันติดปากว่า Fast Food ซึ่งกระหน่ำเข้ามาทำตลาดขายดิบขายดี ไม่เฉพาะแต่ในบ้านเราแต่ยังระบาดไปทั่วโลก  แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงข้อเท็จจริงของอาหารเหล่านี้ ว่าทำไม่ถึงเป็นอาหารขยะไปได้ ทั้งที่ราคาก็ออกจะแพง

เริ่มที่สารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตกันก่อน ถ้าแป้งที่เรารับประทานลงไปเป็นแป้งขัดขาว หรือผ่านกระบวนการขัดฟอก ย่อมทำให้วิตามินหล่นหายไปตั้งแต่ยังไม่ถึุงปากของเราแล้ว เช่นเดี่ยวกับมันฝรั่งทอด ขนมหวาน และน้ำอัดลม หรือแม้แต่น้ำผลไม้ที่ผสมน้ำเชื่อมเข้าไปก็เป็นอาหารขยะ ทั้งสิ้น

ว่ากันต่อที่อาหารจำพวกไขมันอิ่มตัวสูงๆ เช่นเนยแข็ง ครีม เนื้อวัว ไก่ติดหนัง แน่นอนว่าเต็มไปด้วยคอเลสเตอรอลแอบแฝงอยู่ด้วย คอเลสเตอรอลทำอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ร้ายกว่านั้นอาหารทอดแต่ละชนิด เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแม่ค้าทอดอาหารแล้วใช้น้ำมันซ้ำแล้วซ้ำอีกหรือไม่ อาจมีสารปนเปื้อนเช่นตะกั่ว ปรอท ปะปนซ้ำไปซ้ำมาอยู่ในน้ำมัน หากสะสมในปริมาณมากๆ เข้า อาจะได้ของแถมที่ไม่พึงประสงค์ นั่นก็คือโรคมะเร็งนั่นเอง

ไม่เพียงอาหารจานด่วนของฝรั่งเท่านั้นที่เป็นอาหารขยะ หากเรารับประทานอาหารไทยแต่กลับรับประทานผิดวิธี ผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นผลร้ายต่อร่างกายเราไม่แพ้กัน  ตัวอย่างเช่น หากเรารับประทานมือเช้าด้วยข้าวขาหมู ตามด้วยของหวานใส่กะทิเยอะๆ น้ำผลไม้ปั่นผสมน้ำเชื่อมหวานเจี๊ยบได้ใจ  มือกลางวันรับประทานไก่ทอดชิ้นโต พร้อมแกงกะทิและขนมหวาน พอถึงมือเย็นมีเท่าไหร่ใส่ลงท้องทั้งหมด ไม่ต้องยั้งเพราะมีเวลารับประทานอย่างเต็มที่ ไม่ต้องรีบร้อน พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมส่งผลร้ายต่อเราเข้าข่ายเดียวกับอาหารขยะ

ซ้ำร้ายถ้าหากเจาะจงเลือกรับประทานเฉพาะโปรตีนจากหมู เนื้อ ไก่ ซ้ำไปซ้ำมาโดยละเลยโปรตีนจากเนื้อปลาและโปรตีนจากพืชเช่นถั่วเหลือง ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน ซ้ำยังให้สารโปรตีนที่มีคุณประโยชน์มากกว่า เท่านี้ก็เท่ากับครบสูตรอาหารขยะที่จะส่งผลรั้ายต่อสุขภาพร่างกายของเราเช่นกัน

ฉะนั้น ลองหันมาเลือกรับประทานผักและผลไม้ โดยให้มีอยู่ในเมนูของอาหารทุกมื้อ ลดจำนวนแป้งและน้ำตาลลงและหลีกให้ไกลจากของทอด  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยรับประทานแค่พออิ่ม แต่ต้องได้รับประทานตรงเวลาทุกมื้อ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ให้ได้วันละอย่างน้อย 8 แก้ว

แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นอาหารขยะ ย่อมไม่มีอะไรดีแน่นอน  ฉะนั้น หากยังรักสุขภาพ รักตัวเอง หลีกให้ไกลจากอาหารขยะทุกรูปแบบเสียตั้งแต่วันนี้

ที่มา: ศูนย์ผู้บริโภค CPF

0 Comments:

Post a Comment